วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 2

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำรายงานเรื่องชาขลู่ คณะผู้จัดทำได้มีการศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเกี่ยวกับใบชาขลู่ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ รสและสรรพคุณของใบชา สรรพคุณและการนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน  วิธีและปริมาณที่ใช้ ข้อมูลทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ ข้อมูลทางคลินิก ข้อมูลทางพิษวิทยา สารเคมีที่พบในใบชา และได้ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าดังนี้
1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์                                            
ขลู่เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน รูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ สีเขียว ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนงตามปลายยอด ช่อย่อยเป็นช่อกระจุกแน่น ดอกสีม่วงอ่อน ดอกย่อยมี 2 แบบ ตรงกลางเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกที่เหลืออยู่รอบๆ เป็นดอกเพศเมีย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล เป็นผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอก เป็นสันเหลี่ยม 10 สัน  ระยางค์มีน้อย สีขาว ยาวประมาณ 4 มม. ลำต้นกลมสีน้ำตาลแดง หรือเขียว ลำต้นและกิ่งก้านมีขนละเอียดปกคลุม เมล็ดมีลักษณะเป็นฝอยเล็กๆ เมื่อแก่จะปลิวไปตามลม
ขลู่จะขึ้นเป็นกอ แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นกลมสีน้ำตาลแดง หรือเขียว ลำต้นและกิ่งก้านมีขนละเอียดปกคลุม
 ใบเดี่ยว ออกแบบสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 1-5 เซนติเมตร ยาว 2.5-10 เซนติเมตร ปลายใบมีขนาดใหญ่กว่าโคนใบ โคนใบสอบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย โดยรอบมีขนขาวๆปกคลุม เนื้อใบบาง แผ่นใบเรียบเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็งและเปราะ ใบมีกลิ่นหอมฉุน 
ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด หรือตามซอกใบ รูปกลม หลายๆช่อมารวมกัน ดอกเป็นฝอยสีขาวนวลหรือสีขาวอมม่วง กลีบดอกแบ่งออกเป็นวงนอกกับวงใน กลีบดอกวงนอกสั้นกว่าวงใน กลีบดอกวงในเป็นรูปท่อ ดอกวงนอกกลีบดอกยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตร ดอกวงใน กลีบดอกจะเป็นรูปท่อมีความยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ปลายจักเป็นซี่ฟัน ประมาณ 5-6 ซี่ ภายในมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียสีขาวอมม่วงขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก ปลายกลีบดอกหยักเป็นซี่ฟัน 5-6 หยัก อับเรณูตรงโคนเป็นรูปหัวลูกศรสั้นๆ เกสรตัวเมียแยกเป็น 2 แฉกสั้นๆ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ไม่มีก้านดอกย่อย ริ้วประดับมีลักษณะแข็ง สีเขียว และเรียงกันประมาณ 6-7 วง วงนอกเป็นรูปไข่ วงในคล้ายรูปหอกแคบ ปลายแหลม 
ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก รูปทรงกระบอก ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร ผลเป็นสัน มีขนาดเล็กมาก มีเหลี่ยม 10 สัน มีรยางค์ไม่มาก สีขาว ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร เมล็ดมีลักษณะเป็นฝอยเล็กๆ เมื่อแก่จะปลิวไปตามลม ยอดมีรสมันใช้รับประทานเป็นผักสด พบชอบขึ้นตามธารน้ำ ที่ชื้นแฉะ โดยเฉพาะที่ที่น้ำเค็มขึ้นถึง ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มได้ ใบเมื่อนำมาผึ่งให้แห้ง จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง ใช้ชงดื่มแทนชา         
การขยายพันธุ์  ขลู่เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามที่ลุ่มแฉะ ริมห้วยหนอง ตามหาดทายด้านหลัวป่าชายเลน นิยมปลูกเป็นพืชสมุนไพร การปลูกใช้วิธีการปักชำโดยตัดต้นชำลงดิน รดน้ำให้ชุ่มปลูกขึ้นง่าย ไม่ต้องการดูแลรักษาแต่อย่างใด
ขลู่เป็นพืชวงศ์เดียวกับเบญจมาศน้ำเค็ม สาบเสือ เก๊กฮวย ดาวเรือง ทานตะวัน และบานชื่น เป็นพืชที่ชอบขึ้นตามลำพังทั่วไป โดยเฉพาะที่มีน้ำเค็ม ขึ้นตามพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ ริมห้วยหนอง ตามหาดทราย หรือป่าชายเลน พบได้ในเขตร้อนชื้น เช่นประเทศอินเดีย ฟิลิปินส์  มาเลเซีย และประเทศไทย
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ขลู่จะมีลักษณะเป็นพุ่มเป็นกอ ซึ่งที่สามรถจำได้ว่าพืชชนิดนี้คือขลู่ ขลู่เป็นพืชที่อยู่ในน้ำเค็ม แต่ก็ยังสามารถนำมาเป็นสมุนไพรได้  มีประโยชน์มากมายหลายอย่างและขลู่เป็นพืชที่สามารถหาได้ง่ายในทุกๆเขตพื้นที่ที่มีอากาศร้อนชื้น
 ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นสด หรือแห้ง เปลือก ใบ เมล็ด ดอก (นิยมใช้เฉพาะใบ)
2.  รสและสรรพคุณของใบชา
ตำรายาไทย  ต้น สมุนไพรขลู่เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 0.5-2 เมตร แตกกิ่งก้านมากและเกลี้ยง                                                                                
ทั้งต้นสด หรือแห้ง – สามารถปรุงเป็นยาต้มรับประทานเพื่อขับปัสสาวะ แก้โรคนิ่วในไตได้ สามารถแก้ปัสสาวะพิการ แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง เป็นยาช่วยย่อย สามารถแก้ริดสีดวงทวารหนักและริดสีดวงจมูก ใช้ ใบ รสหอมฝาดเมาเค็ม เป็นยาขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน ขับนิ่ว นำใบสดแก่ นำมาตำแล้วบีบเอาน้ำ ทาตรงหัวริดสีดวงทวาร ทำให้หัวริดสีดวงหดหายไป แก้กระษัย ยาอายุวัฒนะ สมานภายนอกและภายใน แก้ไข้ ขับเหงื่อ นำใบมาตำผสมกับเกลือกินรักษากลิ่นปาก และระงับกลิ่นตัว นำใบมาต้มดื่มแทนชาลดน้ำหนัก บรรเทาอาการปวดเมื่อย มุตกิด น้ำคั้นจากใบสดรักษาริดสีดวงทวาร ใบต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน บำรุงประสาท เป็นยาบีบมดลูก น้ำคั้นใบสดรักษาริดสีดวงทวาร โรคบิด ใบและต้นอ่อน บรรเทาอาการปวดข้อ ในโรคไขข้ออักเสบ รักษาประดง เลือดลม ตำผสมกับแอลกอฮอล์ ทาหลังบริเวณเหนือไต บรรเทาอาการปวดเอว ต้มน้ำอาบรักษาหิด ขี้เรื้อน              
  ใบและราก เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ขับเหงื่อ พอกแก้แผลอักเสบ ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำอาบรักษาเส้นตึง และทำเป็นขี้ผึ้งทาแผลเรื้อรัง เปลือกต้น นำมาสับเป็นชิ้นมวนบุหรี่สูบแก้โพรงจมูกอักเสบ(ไซนัส) ดอก รสหอมฝาดเมาเค็ม แก้นิ่ว ราก รสหอมฝาดเมาเค็ม แก้กระษัย ขับนิ่ว ทั้งต้น รสหอมฝาดเมาเค็ม ใช้ต้มกินรักษาอาการขัดเบา แก้นิ่วในไต ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ริดสีดวงทวาร แก้มุตกิดระดูขาว แก้ตานขโมย แก้เบาหวาน รักษาวัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง ต้มอาบ แก้ผื่นคัน แก้ประดง เลือดลม และแก้โรคผิวหนัง เปลือกต้น รสเมาขื่นหอม แก้ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร แก้กระษัย ขูดเอาขนออกให้สะอาด ลอกเอาแต่เปลือก หั่นเป็นเส้นมวนสูบ แก้ริดสีดวงจมูก หรือต้มรมริดสีดวงทวารหนัก
เปลือก ใบ เมล็ด - สามารถแก้ริดสีดวงทวารและริดสีดวงจมูก แก้กระษัย สามารถเป็นยาอายุวัฒนะได้                                                                                
ใบ - มีกลิ่นหอม สามารถต้มน้ำดื่ม แทนเป็นน้ำชา เพื่อลดน้ำหนัก แก้ปวดเมื่อย ขับระดูขาว แก้แผลอักเสบ และต้มน้ำอาบบำรุงประสาท สำหรับแก้แผลอักเสบ อาจใช้ใบสดตำพอก บริเวณที่เป็น แก้ริดสีดวงทวาร ยาอายุวัฒนะ         
ดอก แก้โรคนิ่ว
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ขลู่สามารถขับปัสสาวะ สามารถลดอาการปวดบวมตามร่างกาย อีกทั้งยังช่วยลดน้ำหนักได้ สามารถรักษาโรคริดสีดวงทวาร สามารถรักษาโรควัณโรคต่อมน้ำเหลือง สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อย สามารถบำรุงประสาท รักษาหิด ขี้เรื้อนรักษาโรคไขข้ออักเสบและอื่นๆอีกมากมาย


3.  สรรพคุณและการนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน  

          สามารถใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 40 - 50 กรัม แห้งหนัก 15 - 20 กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (หรือ 75 มิลลิลิตร)


4วิธีและปริมาณที่ใช้                     
          เป็นยาแก้อาการขัดเบา
ใช้ทั้งต้นขลู่ 1 กำมือ (สดหนัก 40- 50 กรัม แห้งหนัก 15- 20 กรัม ) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร   
เป็นยาริดสีดวงทวารริดสีดวงจมูก
ใช้เปลือกต้น ต้มน้ำ เอาไอรมทวารหนัก และรับประทาน แก้โรคริดสีดวงทวาร หรือใช้เปลือกต้น (ขูดเอาขนออก)แบ่งเป็น 3 ส่วน
     ส่วนที่ 1 นำมาตากแห้งทำเป็นยาสูบ
     ส่วนที่ 2 นำมาต้มน้ำรับประทาน
     ส่วนที่ 3 ต้มน้ำเอาไปรมทวารหนัก
เปลือกบางของต้นขูดขนออกให้สะอาด ทำเป็นเส้นตากแห้ง คล้ายเส้นยาสูบ แก้ริดสีดวงจมูก
การใช้ขลู่ในใบชาลดความอ้วน !
การใช้ยาขับปัสสาวะในทางการแพทย์นั้น มักใช้เพื่อลดความดันโลหิต และเพื่อลดอาการบวมน้ำ อาจมีที่ใช้ในกรณีอื่นอีกบ้าง แต่แพทย์ไม่ใช้ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดความอ้วน สมุนไพรที่ใช้ชื่อว่า ใบชาลดความอ้วน ทั้งหลาย มักมีสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะอยู่ด้วย เมื่อแพทย์ไม่ใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดความอ้วน ทำไมผู้ที่มิใช้แพทย์จึงใช้สมุนไพรขับปัสสาวะเพื่อลดความอ้วน ? (ข้อนี้โปรดใช้วิจารณญาณ)
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า วิธีการทำและปริมาณในการใช้ชาขลู่ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากมาย ซึ่งมีวิธีการทำที่สามารถทำเองได้ และปริมาณที่ใช้ก็สามารถดูได้ตามความเหมาะสม

5. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ 
     ฤทธิ์ขับปัสสาวะ นัทพร นิลวิเศษ และคณะได้ศึกษาฤทธิ์ขับปัสสาวะของขลู่พบว่ารูปแบบ 5% และ 10% ของยาชงขลู่ (ยาชง 5% ทำได้โดยชั่งขลู่ 5 กรัมใส่ลงในภาชนะแก้วหรือเคลือบที่ทนความร้อนได้ รินน้ำเดือดลงไปประมาณ 100 มิลลิลิตรปิดฝาตั้งทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง จึงรินและคั้นน้ำออกกรองให้ได้น้ำยา 100 มิลลิลิตร)ทดลองฤทธิ์ขับปัสสาวะในหนูขาว และในอาสาสมัครที่มีสุขภาพปกติ โดยเปรียบเทียบกับยา hydrochlorothiazide พบว่ายาชงขลู่มีผลเพิ่มปริมาณปัสสาวะ และถ้าเพิ่มปริมาณความเข้มข้นก็จะมีผลเพิ่มปริมาณปัสสาวะมากขึ้น
     ฤทธิ์ต้านการอักเสบ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 1991)ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบ (antiinflammatory) ของสารสกัดจากรากขลู่พบว่าสารสกัดจากรากขลู่สามารถต้านการอักเสบได้
โดยสามารถยับยั้งอาการบวมของอุ้งเท้าหนูที่เกิดจากการฉีด carragenin,histamine, serotonin, hyaluronidase และ sodium urateโดยสารสกัดจะยับยั้งกระบวนการที่โปรตีนลอดออกจากหลอดเลือด (exudation)และการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาวไปยังบริเวณอักเสบ (leucocyte migration)
      ฤทธิ์ต้านการอักเสบ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 1993) ได้ทำการศึกษากลไกการต้านการอักเสบ และการต้านการเกิดแผลในกรเพาะอาหาร ของสารสกัดจากรากขลู่( Pluchea indica Less root extract: PIRE) ที่คาดว่ามีกลไกเกี่ยวข้องกับ 5- lipoxygenase pathway ซึ่งเป็นกระบวนการสังเคราะห์โพรสตาแกลนดิน ( prostaglandin) ผลการศึกษาพบว่า PIRE สามารถต้านการอักเสบที่เกิดจาก arachidonic acid,platelet activation factor และสารประกอบ 48/80 ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการบวมที่อุ้งเท้าสัตว์ได้อย่างมีนัยสำคัญนอกจากนี้สามารถยับยั้งสารประกอบ 48/80 เหนี่ยวนำให้เกิดการหลั่งสารฮีสตามีน ( histamine) จาก Mast cell ได้อย่างมีนัยสำคัญส่วนผลต่อการเกิดแผลในกระเพราะอาหาร พบว่าสามารถป้องกับการเกิดแผลจากยาindomethacin, เหล้า และ indomethacin ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยสามารถลดปริมา๖และความเป็นกรดของกระเพาะอาหารได้อย่างมีนัยสำคัญ
     ฤทธิ์การปกป้องตับ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 1993) ได้ทำการศึกษาฤทธิ์การปกป้องตับ
ของสารสกัดจากขลู่ ในหนูที่ตับบาดเจ็บเฉียบพลัน (acute liver damage) จากการเหนี่ยวนำของสารคาร์บอนเตตระคลอไรด์ (carbontetrachloride: CCl4) พบว่าสามารถลดระดับเอนไซม์
aspartate amino tranferase (AST), alanine amino tranferase (ALT),lactate dehydrogenase (LDH), serum alkaline phosphatase (ALP) และ bilirubin ได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้สารสกัดจากขลู่สามารถลดระยะเวลาการนอนหลับของหนูที่ได้รับ pentobarbitoneได้อย่างมีนัยสำคัญ และลด plasma prothrombin time ได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ CCl4
ฤทธิ์ป้องกันทางเดินอาหารบาดเจ็บ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 1996)ได้ทำการศึกษาฤทธิ์สารสกัดจากขลู่ ในการยับยั้งปัจจัยกระตุ้นเกร็ดเลือด (platelet activation factor: PAF) และยับยั้งการเกิดกระเพาะอาหารเสียหาย (gastric demage) พบว่าการให้สารสกัดจากขลู่สามารถยับยั้งการอักเสบและอุบัติการเกิดกับทางเดินอาหารส่วนล่างเสียหายได้ อย่างมีนัยสำคัญ
     ฤทธิ์ต่อระบบประสาท Thongpraditchote S. และคณะ (ค.ศ. 1996)ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากรากขลู่ (Pluchea indica Less root extract: PI-E)ต่อระบบประสาทในหนู พบว่าหนูที่ได้รับ PI-E ขนาด 50-100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้โดยการกิน มีการทำงานของระบบประสาทควบคุมการเคลื่อนที่ (locomotor)ทำงานเพิ่มขึ้น และลดระยะเวลาการนอนหลับของหนูที่ได้รับ pentobarbital ให้สั้นลงอย่างมีนัยสำคัญและขึ้นกับขนาดที่ได้รับ (dose dependent)
นอกจากนี้พบว่าฤทธิ์ของ PI-E ที่ให้ในหนูที่ได้รับ pentobarbital จะลดลงเมื่อได้รับ flumazenil (1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้ทางหลอดเลือดดำ)อย่างมีนัยสำคัญ และ PI-E (50 - 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และ diazepam (0.5-5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม)สามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวได้ตามขาดที่ได้รับ (dose dependent)โดยกลไกการออกฤทธิ์ของ PI-E เกี่ยวข้องกับระบบ GABA system ในสมอง แต่อย่างไรก็ตาม PI-E ไม่มีฤทธิ์ระงับการชักที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของ pentyleneterazole
     ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 2002)ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดจากรากขลู่( Pluchea indica Less root extract: PIRE) ในหลอดทดลองและสัตว์
โดยใช้ คาร์บอนเตตระคลอไรด์ ( carbontetrachloride: CCl4)เหนี่ยวนำให้เกิดกระบวนการสลายไปมัน ( lipid peroxidation)และการเปลี่ยนแปลง arachidonic acid จากเอนไซม์ lipoxygenase
ซึ่ง 2 กระบวนการนี้ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นผลการศึกษาพบว่า PIRE สามารถลดการอักเสบ
และการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พบว่า PIRE นอกจากนี้พบว่า PIRE สามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้มากกว่า B755cและ phenidone (สารต้านอนุมูลอิสระ) ได้อย่างมีนัยสำคัญ
     ฤทธิ์ยับยั้งจุลชีพ Biswas R. และคณะ (ค.ศ. 2005)ได้ทำการสกัด และประเมินสารประกอบที่พบในขลู่ และความแรงในการต้านเชื้อจุลชีพพบว่าค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้
( minimum inhibitory concentration: MIC) ของสารสกัดขลู่ต่อเชื้อ Staphylococcus aureus ML 11, S. aureus ML 358, S. aureus NCTC 6571,S. aureus 8530, Salmonella trphi 59, S. typhimurium NCTC 74,Shigella boydii 8 NCTC 254/66, S. dysenteriae 7 NCTC 519/66,
Vibrio cholerae 214, Vibrio cholerae 14033, Bacillus lichenniformis,Escherichia coli ATCC 25938, Klebsiella pneumoniae 725, K. pneumoniae 10031 และ Pseudomonas aeruginosa 71 คือ 1500 ,2000, > 2000, 1000, 1500, 1500, 1500, 1500, 1000, 1500,
> 2000, 1500, > 2000, 2000 และ 2000 นาโนกรัม/มิลลิลิตร
6.ข้อมูลทางคลินิก
     
ฤทธิ์ขับปัสสาวะ Muangman V และคณะ (ค.ศ. 1998) ได้ทำการศึกษาการให้สารสกัดผงแห้งจากขลู่ (สารสกัด 3.6 กรัม บรรจุในแคปซูล 12 แคปซูล) ครั้งเดียว(single dose) แก่อาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 15 คน และได้สุ่มผู้ป่วยอีก 30 คน(อาจเป็นนิ่วที่ไตด้วยหรือไม่ก็ได้) ให้รับประทานยาขับปัสสาวะ(hydrochlorothiazide: HCT 50 มิลลิกรัม) เพื่อใช้เป็นกลุ่มควบคุมและเปรียบเทียบ
และวัดปริมาณปัสสาวะที่ 6 ชั่วโมง ผลพบว่ามีอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 8 คน (53%)และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการสุ่ม 7 คน (23%) ตอบสนองต่อฤทธิ์การขับปัสสาวะของขลู่ส่วนจำนวนผู้ที่ตอบสนองต่อยาขับปัสสาวะ HCT ในอาสาสมัครสุขภาพดี 87% และในผู้ป่วย 67% จากผลการศึกษาจำนวนผู้ตอบสนองต่อสารสกัดจากขลู่น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับ HCT

7.ข้อมูลทางพิษวิทยา
     จากการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของยาชงขลู่ของกรมวิทยาศาสตร์ที่ทำในหุ่นถีบจักรยานพบว่า ไม่มีความเป็นพิษเฉียบพลันในยาชงขลู่

8.สารที่พบในใบชา                                                                                   

     ใบขลู่ประกอบด้วยสารประเภทเกลือแร่ เช่น โซเดียม คลอไรด์ สารโปแตสเซียม นอกจากนี้ยังประกอบด้วย stigmasterol (+ beta-sitosterol), stigmasterol glucoside (+ beta-sitosterol glucoside), catechin เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น