วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 1

บทที่ 1
บทนำ
1. หลักการและเหตุผล
ใบชา นับว่าเป็นที่รู้จักและนิยมของคนจีนที่ใช้ชงชาหรือต้มดื่ม เป็นวัฒนธรรมและรักษาสุขภาพร่างกาย แต่ปัจจุบันคนไทยส่วนหนึ่งหันมาดื่มน้ำชาเพื่อเป็นยารักษาสุขภาพ และก็มีเกษตรกรเริ่มสนใจนำสมุนไพร ทำเป็นใบชาสมุนไพรรักษาสุขภาพ ซึ่งได้จากพืชและผลไม้ หลายชนิด ได้แก่ ใบหม่อน ใบของฝรั่ง มะตูม ขิง บัวบก ใบทองพันชั่ง ตะไคร้ และขลู่ เป็นต้น
ขลู่ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบและมีรสชาติหอมและมีรสชาติหอมและมีสรรพคุณในการบำรุงสุขภาพป้องกันและรักษาโรคต่างๆเป็นไม้พุ่ม ใบรูปไข่กลับปลายแหลม ขอบหยัก โดยรอบมีขนขาวๆ ปกคลุม ก้านสั้นดอกเล็กเป็นกระจุกรวมกันเป็นช่อสีขาวอมม่วงออกตามตุ่มใบเกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลชอบดินเค็มหรือกร่อยขยายพันธุ์ด้วยใบ
ขลู่เป็นผลิตผลจากธรรมชาติที่บอกถึงสรรพคุณที่ช่วยในเรื่องสุขภาพที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มาวันนี้ต้นไม้ท้องถิ่นอย่างต้นขลู่ได้กลายเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน จากการเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพโดยการแปลรูปเป็นชาขลู่ ดังนั้นจึงเลือกประเด็นนี้มาเขียนเป็นองค์ความรู้เพื่อเป็นสื่อในการศึกษาที่สามารถเผยแพร่ให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น 
2. วัตถุประสงค์
    2.1 เพื่อให้ทราบถึงประวัติความเป็นมา
    2.2 เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการผลิตชาขลู่
    2.3 เพื่อให้ทราบถึงประโยชน์การดื่มชาขลู่

3. สมมติฐาน
ชาขลู่ไม่ใช่เป็นเพียงของขวัญที่ล้ำค่าแต่เป็นภูมิปัญญาของคนสมุทรสงครามที่สืบทอดมาจนปัจจุบันเป็นทรัพย์สมบัติที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าทางความคิดและจิตใจได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการผลิตชาเขียวใบขลู่นั้นไม่ใช่เพียงคุณภาพเท่านั้นแต่รวมถึงการรักษาและสืบทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลานของสมุทรสงครามและให้ทุกคนรู้ว่าสมุทรสงครามไม่ได้มีแค่อาหารอร่อยๆแต่ก็มีชาเขียวใบขลู่ที่เป็นสมบัติของคนสมุทรสงครามอีกหนึ่งชิ้นเช่นกัน
4. ขอบเขตของการดำเนินงาน
    4.1 รวบรวมรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับชาขลู่
    4.2 แหล่งค้นคว้าอินเทอร์เน็ตและลงพื้นที่ปฏิบัติ
    4.3 ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    5.1 เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
    5.2 สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว
    5.3 สามารถนำรายงานฉบับนี้มาประยุกต์ใช้ในโครงการต่างๆ
6. นิยามศัพท์เฉพาะ
    1.วัฒนธรรม หมายถึง แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม" วัฒนธรรมแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากร ต่างๆ ลักษณะอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรมคือ เป็นการสั่งสมความคิด ความเชื่อ วิธีการ จากสังคมรุ่นก่อนๆ มีการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ วัฒนธรรมใดที่มีรูปแบบ หรือแนวความคิดที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะเลือนหายไป
     2.สมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ ซึ่งยังไม่ได้ผสม ปรุง หรือเปลี่ยนสภาพ" เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้าสมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปต่าง ๆ เข่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง อย่างไรก็ตามในความรู้สึกของคนทั่ว ๆ ไป เมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักจะนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าสัตว์ หรือแร่ มีการนำมาใช้น้อย และใช้ในโรคบางชนิดเท่านั้น
    3.ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นเรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การจับสัตว์ การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า การทำเครื่องมือการเกษตร 

    4. บรรพบุรุษ หมายถึง ผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูลซึ่งมีผู้สืบสายโลหิตมา, บุคคล ที่นับตั้งแต่ปู่ย่าตายายขึ้นไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น